งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
จริยาภรณ์ มากล้า และ ภารนิมมิตวดี พร้อมมิตร
การประยุกต์ใช้มันเลือด (Wild Yam) เพื่อผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทาง ชีวภาพ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของแผ่นฟิล์มจากมันเลือด และภาวการณ์ย่อยสลายของแผ่นฟิล์ม อันเนื่องมาจากปริมาณขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการ กาจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความ สกปรกต่างๆ ที่เกิดจากขยะ มูลฝอยอาจก่อให้เกิด ปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากและจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์จึงได้เกิดการคิดค้นวิธีที่จะช่วยลดปริมาณขยะเหล่านี้ลง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรแผ่นฟิล์มถูกทดแทนด้วยสตาร์ชจากมันเลือด โดยแปรปริมาณเป็นพลาสติไซเซอร์ กลีเซอรอลสองระดับ คือ 1.65, 2.00 (w/v) ปริมาณสตาร์ช3.30 (w/v) และปริมาณสารลดแรงตึงผิว (Span80) 0.5,1.00,1.5 % เตรียมด้วยวิธี thermal gelatinization แผ่นฟิล์มที่ได้นาศึกษาสมบัติทางกายภาพบางประการ พบว่าฟิล์มที่เตรียมโดยมีความเข้มข้นของกลีเซอรอล1.65 สตาร์ช3.30 กรัม สารลดแรงตึงผิวที่ 1% มีค่าเฉลี่ยความชื้นอยู่ที่ร้อยละ 28 มีแรงดึง 0.16 (Kgf) และแรงกด 0.95 (Kgf/mm2) ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในการทดลอง และถูกนามาใช้ในงานวิจัยนี้ ซึ่งพบว่าความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของฟิล์มที่เป็นตัวกาหนดคุณภาพของแผ่นฟิล์มจะขึ้นอยู่กับระดับกลีซอรอลที่เพิ่มขึ้นสภาวะที่เหมาะสม
2556