งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล1 อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์2 กุลวดี สังข์สนิท3 สุภา จุฬคุปต์4 สุทัศนีย์ บุญโญภาส5
การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน โดยศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน และศึกษาจุดหลอมเหลวของสิ่งทดลองในระดับต่าง ๆ ด้วยเครื่อง Differential Scanning Calorimeter (DSC) เพื่อนาผลที่ได้ไปอัดขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุนด้วยเครื่อง Compression Molding โดยปัจจัยที่ทาการศึกษา คือ ปริมาณของกลีเซอรีน แปรเป็น 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ 100 ของน้าหนักแป้งเมล็ดขนุน ทาการวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แล้ววิเคราะห์คุณภาพทางด้านกายภาพและทางเคมี พบว่า ค่าความสว่าง (L*) และค่าความชื้นเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอรีนเพิ่มขึ้น สาหรับการวิเคราะห์ ค่าจุดหลอมเหลวช่วงอุณหภูมิ 20-300๐ซ พบว่า อุณหภูมิเริ่มเกิดเจลาทิไนเซชัน (To) เท่ากับ 36.02, 44.99, 26.93, 143.75 และ 137.74๐ซ ตามลาดับ อุณหภูมิสูงสุดในการเกิดเจลาทิไนเซชัน (Tp) เท่ากับ 90.09, 111.33, 118.10, 152.57 และ 155.80๐ซ ตามลาดับ อุณหภูมิสุดท้ายของการเกิดเจลาทิไนเซชัน (Tc) เท่ากับ 136.68, 156.19, 159.57, 166.88 และ 175.78๐ซ ตามลาดับ และพลังงานในการเกิดเจลาทิไนเซชัน (H) เท่ากับ 256.95, 226.34, 248.07, 124.16 และ 166.45 (J/g) ตามลาดับ ในการอัดขึ้นรูปแผ่นพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน พบว่า สิ่งทดลองมีความยืดหยุ่นและเกาะตัวเป็นแผ่นดีขึ้นตามปริมาณของกลีเซอรีนที่เพิ่มขึ้น
2559