หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยส่วนภูมิภาค
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนกลาง
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
ผู้แต่ง :
เขมิกา เคียงณฟ้า มานอก, ชารินันท์ แจงกลาง, ปาริชาติ จิวรรักษ์ และศศิธร ไก่แก้ว
ชื่อเรื่อง (TH) :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบ ารุงผิวจากสารสกัดสมุนไพรใบมะรุมออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ชื่อเรื่อง (EN) :
Development of Skin Care Product from Leaves of Moringa oleifera Herbal Extracts with Antioxidant Ac
บทคัดย่อ (TH) :
สารสกัดสมุนไพรถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการแก้ปัญหาสุขภาพผิวที่เสื่อมลงจากมลภาวะและแสงแดดที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายชั้นผิว จากการศึกษาพบว่าสมุนไพรหลายชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบบัวบก, ดอกอัญชัน และแครอท 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมจากสารสกัดสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ 3) ศึกษาความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การเตรียมสารสกัดสมุนไพรโดยวิธีการแช่หมัก ขั้นที่ 2 ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP ขั้นที่ 3 พัฒนาตำรับครีมและทดสอบความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีในสภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดในวิธี DPPH (304.254 ± 26.665 µg/ml) และวิธี FRAP (2.031 ± 0.255 mM Fe2+/ mg) ในขณะที่สารสกัดแครอทสามารถต้านอนุมูลอิสระในวิธี ABTS ได้สูงที่สุด มีค่า VEAC เท่ากับ 0.172 ± 0.040 mM/mg ดังนั้น นำสารสกัดใบมะรุมมาพัฒนาตำรับครีมสำหรับผิวเทียบกับครีมควบคุมที่ผ่านสภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ และจากผลการศึกษาความคงตัวพบว่าตำรับครีมจากสารสกัดใบมะรุมมีค่าการต้านอนุมูล DPPH ที่คงตัว (78.619 - 95.853%) ลักษณะเนื้อครีมไม่แยกชั้น สีและกลิ่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าความเป็นกรดด่าง (pH เท่ากับ 6.12 ถึง 6.30) ค่าความหนืด (10,900.00 ถึง 14,626.66 cP) เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผสมสมุนไพร
บทคัดย่อ (EN) :
Herbal extracts are widely used to cure unhealthy and damaged skin caused by pollution and free radicals from sunlight exposure. Studies have revealed many herbs that possess antioxidant properties. Therefore, natural extracts are increasingly being used as active ingredients in cosmeceutical products. The research aimed to: 1) investigate the antioxidant activities of ethanol extracts from 5 herbal plants, including the leaves of Moringa oleifera, Morus alba, Centella asiatica, the flower of Clitoria ternatea, and the root of Daucus carota; 2) develop a cream product from herbal extracts with antioxidant effects; and 3) study the physical and chemical stability of the product. The research approach is broken down into the following 3 steps: The first step is preparation of herbal extracts by the maceration method. In the second step, antioxidant activities were studied using 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical (DPPH), 2,2'-azino-bis(3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid) (ABTS), and Ferric reducing ability power (FRAP) assays. The third step involves developing a cream product and testing for physical and chemical stability under accelerated temperature conditions. The results showed that leaves of Moringa oleifera extract possessed the highest antioxidant activity in DPPH (304.254 ± 26.665 μg/ml) and FRAP (2.031 ± 0.255 mM Fe2+/mg) methods, while the ABTS method showed the highest antioxidant effect from the root of Daucus carota extract, with a VEAC value of 0.172 ± 0.040 mM/mg. Therefore, leaves of Moringa oleifera extract were chosen to be developed as a cream for skin care, compared with a control cream under accelerated temperature conditions. From the results of the stability study, it was found that the cream formula from leaves of Moringa oleifera extract had a stable DPPH antioxidant value (78.619-95.853%). The texture of the cream did not separate into layers, but its color and scent changed slightly. Meanwhile, the pH (6.12 to 6.30) and viscosity values (10,900.00 to 14,626.66 cP) were found to comply with the standards for herbal skin care products.
คำสำคัญ (TH) :
สารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใบมะรุม
คำสำคัญ (EN) :
Antioxidant activity, care product, leaves of Moringa oleifera
ปีที่พิมพ์ :
2024
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :