หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ผู้แต่ง :
ดร. จุฬารัตน์ หงส์วลีรัตน์
ชื่อเรื่อง (TH) :
การปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากใบและจุกสับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN) :
Process Improvement of Biodegradable Food Package from Pineapple Turgid Leaf and Crown
บทคัดย่อ (TH) :
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปัจจัยในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเยื่อใบและจุกสับปะรดสายพันธุ์ศรีราชาโดยการขึ้นรูปด้วยความร้อน ได้แก่ ขนาดของวัตถุดิบในการเตรียมเยื่อทางเคมี สภาวะในการตีป่น (เวลาที่ใช้) และสภาวะในการขึ้นรูป (อุณหภูมิและเวลา) ต่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเยื่อใบและจุกสับปะรด ผลการศึกษาขนาดของวัตถุดิบพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความยาว 2 ซม. มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นกว่าเล็กน้อย ขอบจานและก้นจานมีความหนาน้อยกว่า มีค่าการดูดซึมน้าและค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุต่ากว่า แต่มีค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และค่าความเป็นสีเหลืองสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด ผลการศึกษาเวลาที่ใช้ในการตีป่นพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นกว่า ขอบจานและก้นจานมีความหนาน้อยกว่า มีค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุสูงกว่า มีค่าความสว่าง และค่าความเป็นสีเหลืองสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที แต่เวลาที่ใช้ในการตีป่นไม่มีผลต่อการดูดซึมน้าและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความยาว 2 เซนติเมตร ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 และ 25 วินาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นไม่แตกต่างกัน ค่า การดูดซึมน้า ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุ ค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และค่าความเป็นสีเหลืองของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 และ 25 วินาที แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (p≥0.05) แต่ความหนาของขอบจานและก้นจานที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีค่าน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที และปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีค่ามากกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที ผลการศึกษาอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที และ 200°C 1 นาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นไม่แตกต่างกัน ความหนาของขอบจานไม่แตกต่างกันแต่ความหนาของก้นจานที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 200°C 1 นาที มีค่ามากกว่า ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้น รูป 200°C 1 นาที มีค่าน้อยกว่า แต่อุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปไม่มีผลต่อการดูดซึมน้าของบรรจุภัณฑ์ ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความยาว 2 เซนติเมตร ที่ใช้ อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที และ 200°C 1 นาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นไม่แตกต่าง กัน ความหนาของขอบจานและก้นจาน ค่าการดูดซึมน้า และค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุแตกต่างกันอย่า ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (p≥0.05) แต่ปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 200°C 1 นาที มีค่าน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที จากผลการวิจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ขนาดของวัตถุดิบในการเตรียมเยื่อทางเคมีมีผลต่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปในทุกด้าน สภาวะในการตีป่น (เวลาที่ใช้) มีผลต่อการจัดเรียงตัวของเยื่อ ความหนา ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุ และค่าสีของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด แต่มีผลเฉพาะความหนาและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรด และสภาวะในการขึ้นรูป (อุณหภูมิและเวลา) มีผลต่อค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด แต่มีผลเฉพาะปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรด
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :