งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
สุทธิษา ก้อนเรือง1 การะเกด แก้วใหญ่1 ธวัฒน์ชัย เทพนวล2 มาริสา เชษฐวรรณสิทธิ์3
การผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเส้นใยต้นสาคู
Production of Biodegradable Plastics from Sago Fibers
ปัจจุบนั มีการใช้วัสดุพอลิเมอร์อย่างกว้างขวางเนื่องจากมีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น น้ำหนักเบาความแข็งแรงสูงและทนต่อสารเคมี อย่างไรก็ตามพอลิเมอร์เหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพราะส่วนใหญ่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ไม่สามารย่อยสลายทางชีวภาพได้ ดังนั้น โครงงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและสมบัติของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเส้นใยต้นสาคูโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ตัวอย่างถูกเตรียมโดยวิธีการอัดขึ้นรูปที่อุณหภูมิ 150 °C ความดัน 500 psi ใช้เวลาในการอัด15 นาที อัตราส่วนของเส้นใยต้นสาคูต่อตัวประสาน 1:1, 6:4, 7:3, 8:2, 9:1 และ 1:0 โดยน้ำหนัก เมื่อทดสอบสมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพ พบว่า เมื่อปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้นความหนาแน่นและความต้านทานแรงดึงของตัวอย่างลดลง ที่อัตราส่วนเส้นใยต่อน้ำแป้งมันสำปะหลังเป็น 1:1 ความต้านทานแรงดึงมีค่าสูงสุดคือ 4.24 ± 0.92 MPa ในทางตรงกันข้ามการดูดซึมน้ำมีค่าเพิ่ม ขึ้นเนื่องจากเส้นใยทำให้เกิดช่องว่างในตัวอย่าง ขณะที่ความแขง็ มีค่าใกล้เคียงกันและจากการทดสอบการย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพด้วยวิธีการฝังกลบดินเป็นเวลา 28 วัน พบว่า ตัวอย่างที่เตรียมจากอัตราส่วนของเส้นใยต่อตัวประสานเป็น 1:0 โดยน้ำหนักมีความสามารถในการย่อยสลายสูงสุด จากการศึกษาสรุปได้ว่า เส้นใยสาคูสามารถนำมาใช้เตรียมพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับการประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
2563