หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยส่วนภูมิภาค
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัยจากส่วนกลาง
Biopharmaceuticals Research Services ?
ผลงานวิจัยจากส่วนกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบ ารุงผิวจากสารสกัดสมุนไพรใบมะรุมออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
: เขมิกา เคียงณฟ้า มานอก, ชารินันท์ แจงกลาง, ปาริชาติ จิวรรักษ์ และศศิธร ไก่แก้ว
Views: 8
: 10 เมษายน 2568 13:46:08
สารสกัดสมุนไพรถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการแก้ปัญหาสุขภาพผิวที่เสื่อมลงจากมลภาวะและแสงแดดที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายชั้นผิว จากการศึกษาพบว่าสมุนไพรหลายชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบบัวบก, ดอกอัญชัน และแครอท 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมจากสารสกัดสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ 3) ศึกษาความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การเตรียมสารสกัดสมุนไพรโดยวิธีการแช่หมัก ขั้นที่ 2 ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP ขั้นที่ 3 พัฒนาตำรับครีมและทดสอบความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีในสภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดในวิธี DPPH (304.254 ± 26.665 µg/ml) และวิธี FRAP (2.031 ± 0.255 mM Fe2+/ mg) ในขณะที่สารสกัดแครอทสามารถต้านอนุมูลอิสระในวิธี ABTS ได้สูงที่สุด มีค่า VEAC เท่ากับ 0.172 ± 0.040 mM/mg ดังนั้น นำสารสกัดใบมะรุมมาพัฒนาตำรับครีมสำหรับผิวเทียบกับครีมควบคุมที่ผ่านสภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ และจากผลการศึกษาความคงตัวพบว่าตำรับครีมจากสารสกัดใบมะรุมมีค่าการต้านอนุมูล DPPH ที่คงตัว (78.619 - 95.853%) ลักษณะเนื้อครีมไม่แยกชั้น สีและกลิ่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าความเป็นกรดด่าง (pH เท่ากับ 6.12 ถึง 6.30) ค่าความหนืด (10,900.00 ถึง 14,626.66 cP) เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผสมสมุนไพร....
อ่านต่อ
การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางชีวภาพในน้ำเลือดที่อุดมไปด้วย เกล็ดเลือดที่ได้จากการปั่นด้วยชุดปั่นแยกชนิดที่มีเจลกั้นและไม่มีเจลกั้น โดยใช้หลอดชุดปั่นสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด
: อัครวินท์ ดำรงค์วัฒนโภคิน
Views: 195
: 15 สิงหาคม 2566 14:30:57
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพหลังการปั่นแยก PRP โดยทา การเจาะเลือดจากกลุ่ม อาสาสมัครเพศชายอายุระหว่าง 20 – 30 ปี จานวน 5 คน โดยอาสาสมัคร 1 คน จะ ทำการปั่นแยกส่วนประกอบของ PRP โดยใช้ชุดปั่นแยก 2 ชนิด คือ ชนิดมีเจล Sodium Citrate Gel Separator tube(Selphyl, Dermalink Thailand) และชนิด ไม่มีเจล Sodium Citrate column (Mesoprase-20, Celtac Thailand) ทำการปั่น แยกแล้วตรวจหาปริมาณองค์ประกอบชีวภาพภายใน PRP ได้แก่ เกล็ดเลือด เม็ด เลือดแ ....
อ่านต่อ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบใบฝรั่ง
: ณพัฐอร บัวฉุน
Views: 269
: 15 สิงหาคม 2566 14:31:07
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤกษทางเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกรวม ปริมาณแทนนินรวม ฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบใบฝรั่ง โดยนาใบมาทาการสกัดด้วยเอทานอล ทำการ วิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกรวม แทนนินรวม ฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดหยาบด้วยวิธี DPPH radical scavenging และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนสด้วยวิธี Dopachrome method จากการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบเอทา นอลของใบฝรั่งพบสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิ ....
อ่านต่อ
การพัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Development of Extraction Process for Preparing High Antioxidant Extracts from Thai Herbs)
: ชนัญ ผลประไพ และศรัณยู อุ่นทวี
Views: 205
: 11 มิถุนายน 2566 20:19:24
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรไทย มีผู้ป่วยจานวนมากที่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากอนุมูลอิสระ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการศึกษากระบวนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากการสกัดสมุนไพรไทย ได้แก่ แก่นฝาง ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก ผลมะขามป้อม และลำต้นบอระเพ็ด ด้วยวิธีการแช่ในเอทานอล เพื่อคัดกรองพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดแก่นฝางและสารสกัดผลมะขามป้อมมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงกว่าสารส ....
อ่านต่อ
การโคลนนิ่งดีเอ็นเอแคพสิดของไวรัสเดงกี่ โดยใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม
: แจนจุรีย์ เนตรสว่าง ปรัชญา หาญเสือเหลือง ปิยวดี จุฑากาญจน์ สำอาง มูระคา สุภาพร คำพา และอุดมศิลป์ สุทธิสม
Views: 247
: 13 มีนาคม 2566 13:51:41
ไข้เลือดออกเดงกี่จัดเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขในประเทศไทย ซึ่งเกิดมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ และมียุงเป็นพาหะ โปรตีนแคพสิดของไวรัสเดงกี่ ( DENV C) มีหน้าที่ประกอบเป็นโครงสร้างของไวรัส สามารถพบได้ทั้งในไซโทพลาสซึม และนิวเครียสของเซลล์ที่ติดเชื้อ คณะผู้วิจัยได้พบว่า โปรตีนแคพสิดของเดงกี่กระตุ้นการตายของเซลล์ตับแบบอะพอพโทสิด (apoptosis) นอกจากนี้ การเข้าสู่นิวเครียส ของเซลล์ตับของโปรตีนแคพสิดชนิดดั้งเดิม( WT DENV C) ส่งผลให้เกิดการตายแบบอะพอพโทสิดด้วย ในขณะที่โปรตีนแคพสิดชนิดมิวเตชั่น (mutant DENV C) ซ ....
อ่านต่อ
Displaying all of Biopharmaceuticals Research
Loading...