หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยส่วนภูมิภาค
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น
Biopharmaceuticals Research Services ?
ผลงานวิจัยส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพร 10 ตำรับของโรงพยาบาล การแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท
: กุลฉัตร ยินดีมาก, อนุสรา ชมภู, จรินยา ขุนทะวาด, วรินท์ โอนอ่อน, ยลดา ศรีเศรษฐ์ และ ภัทรานิษฐ์ คำแผ่น
Views: 11
: 17 เมษายน 2568 12:06:51
การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในตำรับยาสมุนไพร 10 ตำรับ ของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บสุภัทโท โลหะหนักที่ทำการศึกษาได้แก่ ตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd) สารหนู (As) , และปรอท (Hg) ตัวอย่างตำรับยาสมุนไพรได้แก่ ยาเถาวัลย์เปรียง ยาประสะเจตพังคี ยาสหัศธารา ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาหอมนวโกฐ ยาประสะจันทน์แดง ยากษัยเส้น ยาหอมเทพจิตรยาขมิ้นชัน และยาว่านชักมดลูก ปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 0.25 กรัม สารละลายผสมระหว่างกรดไนตริก 65% โดยปริมาตร และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 35% ในอัตราส่วน 2:1 ทำการย่อยตัวอย่างโดยวิธี การย่อยเปียก (Wet digestion) จากนั้นนำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง Atomic absorption spectrophotometer (AAS) โดยใช้เทคนิค Flame atomization วิเคราะห์แคดเมียมเทคนิค Graphite furnace วิเคราะห์สารหนูกับตะกั่ว และวิเคราะห์ปริมาณปรอทด้วยเทคนิค Mercuryvaporunit จากผลการทดลอง พบว่า ในตำรับยาสมุนไพรทั้ง 10 ตำรับมีปริมาณโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และปรอท ที่ตรวจพบไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยปี พ.ศ. 2563 (Thai herbal pharmacopoeia, 2020) และองค์การอนามัยโลก (World health organization) กำหนด จึงเห็นได้ว่าตำรับยาสมุนไพรเหล่านี้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค....
อ่านต่อ
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ Bacillus cereus ในสารสกัดจากขิง
: กมล อยู่สุข และ ธนาวรรณ สุขเกษม
Views: 14
: 28 มีนาคม 2568 08:37:02
ขิง (Ginger) เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการใช้เพิ่มรสชาติในอาหารและเครื่องดื่มรวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ นอกจากนี้ ขิง ยังมีคุณสมบัติทางสุขภาพมากมายที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารได้ดี เชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus cereus เป็นหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในอาหารและเป็นสาเหตุหลักของโรคติดเชื้อจากอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนและท้องเสีย การรักษาโรคนี้ ส่วนมากใช้ยาต้านเชื้อที่ผลิตจากสารเค ....
อ่านต่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิวจากสารสกัดขมิ้นชันและสารสกัดสมอพิเภก
: นำพล แปนเมือง, ฉัตรชนก นุกูลกิจ, ศิรินทิพย์ พรมเสนมา, วริษฎา ศิลาอ่อน, ปภาภัสสร์ ธีรพัฒนวงศ์, กัญจนภรณ์ ธงทอง, เพชรัตน์ รัตนชมภู, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, ยลดา ศรีเศรษฐ์, วรินท์ โอนอ่อน, จรินยา ขุนทะวาด, ภัทรานิษฐ์ คำแผ่นจิรโรจน์
Views: 23
: 05 มีนาคม 2568 08:40:13
านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากขมิ้นชัน และสมอพิเภก ตรวจสอบปริมาณเคอร์คูมินนอยด์ คอมเพล็กซ์ในสารสกัดจากขมิ้นชัน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดดังกล่าวทั้งสองชนิด เมื่อนำ สารสกัดจากขมิ้นชัน และสมอพิเภกที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เอทานอล 95% และอะซีโตไนไตรล์ มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS+. และ DPPH ผลการทดสอบด้วยวิธี ABTS+. พบว่าสารสกัดจากขมิ้นชันที่สกัดด้วยอะซีโตไนไตรล์ และ สารสกัดจากสมอพิเภกที่สกัดด้วยเอ ....
อ่านต่อ
ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารของสารสกัดเอทานอลขมิ้นชั
: สุวรรณดี ทรัพย์เจริญ และ ณัชชา ด้วงรัก
Views: 17
: 04 มีนาคม 2568 08:30:18
เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับโลก การใช้สารสกัดสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพได้ ขมิ้นชัน (Curcuma longa L. วงศ์ Zingiberaceae) มีสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านอักเสบ และช่วยรักษาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ในหลอดทดลองของสารสกัดหยาบเอทานอลจากขมิ้นชัน 3 พันธุ์ปลูก ได้แก่ แดงสยาม ตรัง 1 และตรัง 8 ....
อ่านต่อ
สมุนไพรสำหรับชะลอวัยและความเสื่อมในผู้สูงอายุ
: กฤษฏิ์ วัฒนธรรม
Views: 25
: 17 กุมภาพันธ์ 2568 10:20:21
เวชศาสตร์ชะลอวัยมีเป้าหมายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่มีปัญหาด้านสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น สารชะลอวัยในปัจจุบันมุ่งหมายไปที่การลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด และชะลอความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง ปัจจุบันมีสารชะลอวัยจำนวนมากที่มีการศึกษาในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง ส่วนผลการศึกษาทางคลินิกในมนุษย์โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมีไม่มากนัก แต่ปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัยในมนุษย์มากขึ้น เช่นการศึกษาผลของแปะก๊วยเจียวกู่หลาน เรสเวอราทรอล ที่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงขมิ้นชันที่เพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือด ซึ ....
อ่านต่อ
Displaying all of Biopharmaceuticals Research
Loading...