หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น
Biochemicals Research Services ?
ผลงานวิจัยส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้ง โดย Candida metapsilosis CPRU001 ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง
: ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา
Views: 123
: 15 สิงหาคม 2566 14:26:21
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรด ซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้งภาคเกษตรกรรมโดย Candida metapsilosis CPRU001 โดยใช้การออกแบบการทดลองทางสถิติด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) ใน รูป แ บ บ ส่ว น ป ระ ส ม ก ล าง (Central Composite Design, CCD) ซึ่งทาการคัดเลือก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการ ผลิตกรดซิตริก ชึ่งประกอบด้วย 1.ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น (Initial pH) ของ สับสเตรท 2. ปริมาณยีสต์สกัด (yeast extract) และ 3. ปริมาณโปแตส เซียมได ไอโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4) ผลการวิจัยพบว่า สมการพหุนามกาลังสอง (quadratic equation) สามารถ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อผลิตกรดซิตริก (response; Y) อย่างมี นัยสำคัญ (P<0.05) ดังนี้ ที่ระดับความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นของสับเสตรท ที่ 5.34 ปริมาณยีสต์สกัด 0.32 กรัมต่อลิตร และปริมาณโพแทสเซียมไดไฮโดเจนฟอสเฟต 0.69 กรัมต่อลิตร เมื่อใช้ระยะเวลาในการหมัก 144 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้องบน เครื่องเขย่าความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที สามารถผลิตกรดซิตริก เท่ากับ 11.62±0.54 กรัมต่อลิตร256....
อ่านต่อ
การผลิตกรดซักซินิกจากแป้งมันและกากมันสำปะหลังด้วยเชื้ออีโคไล ที่ผ่านการดัดแปลงกระบวนการสร้างและสลายสายพันธุ์ KJ122
: 1. รองศาสตราจารย์ ดร. เขมวิทย์ จันต๊ะมา 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนทร กาญจนทวี 3. ดร. อภิชัย สาวิสิทธิ์ 4. นางสาวคิริน โฆ
Views: 129
: 15 สิงหาคม 2566 14:18:26
ซักซิเนตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเคมีและการผลิตซักซิเนตจาก เชื้อจุลินทรีย์เป็นทางเลือกที่เป็นที่ต้องการมาก ทั้งนี้ความเป็นไปได้ในการผลิตซักซิ เนตด้วยกระบวนการทางชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น จะขึ้นอยู่กับ การใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทดแทนที่ราคาถูกกว่า ดังนั้น การนำวัตถุดิบที่ ได้จากมันสำปะหลังมาใช้ในกระบวนการหมักเพื่อผลิตซักซิเนตอาจทำให้สามารถ เพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการผลิตซักซิเนต จากเชื้อ E. coli KJ122 โดยใช้กากมันสำปะหลังและแป้งมันส ....
อ่านต่อ
การคัดเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพการย่อยสลายใบยางนาเพื่อผลิตไบโอ เอทานอล
: 1. จุฑาพร แสวงแก้ว 2. พลสัณห์ มหาขันธ์ 3. ผุสรัตน์ สิงห์คูณ 4. ณัฐพร หมู่พราหมณ์ 5. ปาจรีย์ โนนิล 6. สุพิชชา พันธุ์คะชะ
Views: 116
: 15 สิงหาคม 2566 14:13:39
ยางนาเป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย และมีศักยภาพในการนาไปใช้ ประโยชน์หลายด้าน รวมถึงสามารถนาไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นศึกษาการคัดเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบยางนา เพื่อใช้ในการผลิตไบโอเอทานอล โดยเก็บตัวอย่างดินภายในสวนป่ายางนาสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเลือกเก็บบริเวณรอบลำต้นยางนา และดินที่ติดบนใบ ยางนาที่ร่วงลงพื้น เพื่อคัดเลือกเชื้อราที่มีความสามารถในการสร้างเซลลูโล - ไลติกเอนไซม์บนอาหารแข็ง เพื่อนาไปใช้ในขั้นตอนการผลิตเอนไซม์ภายใต้สภาวะ sol ....
อ่านต่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกแก้วมังกร พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงที่ผ่านการทาแห้งแบบโฟมแมท (Product Development of Yoghurt with Foam – mat Drying of Red Dragon Fruit (Hylocereus polyrhizus) Peel Extract)
: ศรัณยา จังโส นวพร ลาภส่งผล รุ่งไพลิน สุขอร่าม และไอรดา ล้อมทอง
Views: 90
: 15 สิงหาคม 2566 13:55:46
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดแทนเจลาตินด้วยสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงที่ผ่านการทำแห้งแบบโฟมแมทโดยใช้ไข่ขาว (CE-EW) และโซเดียมเคซีเนต (CE-SC) เป็นสารก่อโฟมต่อคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัสของโยเกิร์ต การทดลองในเบื้องต้นศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของ CE-EW และ CE-SC พบว่ามีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณแอนโท ไซยานินอยู่ในช่วง 2.37-2.95 mg Gallic acid eq./g, 1.11-1.25 mg Trolox eq./g และ 1.49-2.95 mg/L ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์คุณ ....
อ่านต่อ
การทำบริสุทธิ์กรดซัคซินิคที่ได้จากน้ำหมักด้วยเทคนิคนาโนฟิลเตชั่นและการตกผลึก (Purification of fermentation derived-succinic acid using nanofiltration and crystallization technique)
: รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ บุญทาวัน
Views: 106
: 15 สิงหาคม 2566 13:54:03
ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้กำลังเป็นที่สนใจ เนื่องจากไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม กรดซัคซินิคถือเป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชีวภาพได้ โดยกรดซัคซินิคสามารถผลิตได้จากกระบวนการหมักด้วยเชื้อ Actinobacillus succinogenes ATCC 55618 สามารถผลิต กรดซัคซินิคได้ความเข้มข้นสูงสุดคือ 130.4 กรัมต่อลิตร คิดเป็น 0.62 gSA/gglucose นอกจากนี้ ผลผลิตสุดท้ายของการหมักจะได้ผลพลอยได้อื่น ๆ อาทิเช่น กรดแลคติค กรดอะซิติค กรดฟอร์มิค และไพรูวิค เท่ากับ 2.3, 16.7, 1.22 และ 50.5 ....
อ่านต่อ
Displaying all of Biochemicals Research
Loading...