ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ

พลาสติกย่อยสลายในน้ำทะเล ผลงานนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ ลดขยะลงสู่มหาสมุทร

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์กำลังพัฒนาพลาสติกสลายในน้ำทะเล เพื่อช่วยลดปริมาณขยะในมหาสมุทรและลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล
ดร. Ruirui Qiao จากสถาบันวิศวกรรมชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีแห่งออสเตรเลีย กำลังพัฒนาเทคนิคการเกิด Polymerisation แบบใหม่เพื่อให้ได้พลาสติกที่มีราคาไม่แพงและย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อทดแทนพลาสติกที่ใช้ในปัจจุบัน ทีมนักวิจัยพัฒนาพลาสติกย่อยสลายได้ในน้ำทะเลที่มีมูลค่าสูงและปรับแต่งตามความต้องการได้ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติที่พัฒนาโดยกลุ่มวิจัยของ Dr.Qiao และวัสดุโพลีเมอร์ที่สร้างโดย Chinese Academy of Sciences ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับเงิน 125,000 ดอลลาร์จากกองทุนความร่วมมือวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ควีนส์แลนด์-จีน เพื่อเร่งดำเนินการในอีก 2 ปีข้างหน้า เป้าหมายของงานวิจัยคิดค้นพลาสติกย่อยสลายได้ในทะเล คือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ในออสเตรเลียและจีนภายใน 5 ปี เพื่อทดแทนพลาสติกแบบเดิม และเข้าถึงตลาดที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าเกิน 9.5 พันล้านดอลลาร์ พลาสติกโพลีเมอร์ที่ย่อยสลายในน้ำทะเล จะช่วยลดขยะพลาสติกในมหาสมุทร ส่งเสริมคุณภาพของระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของชุมชนทั่วโลก
springnews