หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
Home
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
read
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพืชเศรษฐกิจนำร่องสำคัญของไทย
ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) :
ข้าวโพด
>
การศึกษาข้อมูลทั่วไป :
ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามของโลก รองมาจากข้าวสาลี และข้าว สามารถปลูกได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศอบอุ่น เขตกึ่งร้อนชื้น และพื้นที่ราบเขตร้อน โดยแหล่งปลูกมักกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก จีน รวมทั้งในทวีปแอฟริกาใต้ สำหรับประเทศไทยข้าวโพดถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมอยู่ทั่วทุกภาค ทำให้สามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับประเทศ ข้าวโพดที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ข้าวโพดฝักสด และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยข้าวโพดฝักสดปลูกเพื่อใช้สำหรับบริโภคเป็นอาหารและส่งออก เนื่องจากผู้บริโภคนิยมรับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปลูกเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจังหวัด ที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี และนครสวรรค์
การศึกษาและวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า :
จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับประเทศในรูปแบบของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ข้าวโพดยังมีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีการวิจัยสารสกัดจากข้าวโพดซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน สารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อาทิ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) จากข้าวโพดม่วงที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นรงควัตถุธรรมชาติที่ให้สีชมพู แดง ม่วง และน้ำเงิน สามารถละลายน้ำได้ดี สารแอนโทไซยานิน มีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง โรคภาวะข้ออักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการมองเห็น ลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ช่วยยับยั้งการเกิดแผลเปื่อยพุพอง ต้านการกลายพันธุ์ของเซลล์ และต้านการเกิดเนื้องอก เป็นต้น ทำให้ในปัจจุบัน เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของข้าวโพด พบว่า นอกจากการแปรรูปอาหารสัตว์แล้ว ข้าวโพดมีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจำนวนมาก อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันข้าวโพด อุตสาหกรรมการผลิตแป้งข้าวโพด รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง เชื้อเพลิง และอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์ :
ข้าวโพดนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักนำเมล็ดมาใช้ประโยชน์ จากองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดข้างต้น ส่งผลให้มีการนำข้าวโพดมีใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง
เอกสารแนบ :