หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
Home
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
read
ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพืชเศรษฐกิจนำร่องสำคัญของไทย
ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) :
ปาล์มน้ำมัน
>
การศึกษาข้อมูลทั่วไป :
ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชยืนต้นและเป็นพืชน้ำมันอุตสาหกรรมชนิดเดียวของโลกที่สามารถให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด และสามารถปลูกได้จำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่ร้อนชื้นเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันมีเพียง 42 ประเทศจาก 223 ประเทศทั่วโลกที่สามารถปลูกได้ ในจำนวนนี้มีเพียง 4 ประเทศที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี เช่น ประเทศมาเลเซีย โคลัมเบีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ปาล์มน้ำมันได้ถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในภาคใต้ของประเทศเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา และมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่า ในช่วงที่ผ่านมา (ปี 2550) ประเทศไทยมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันกว่า 2.7 ล้านไร่ ได้ผลผลิตทะลายปาล์มโดยเฉลี่ยประมาณ 6.7 ล้านตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าผลผลิตทะลายประมาณ 30,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรที่มีอาชีพในการทำสวนปาล์มน้ำมันมีมากกว่า 1 แสนครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ ผลผลิตทะลายทั้งหมดที่เกษตรกรผลิตได้จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง หรือขายให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบโดยตรง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 48 โรงงาน ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคใต้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันห่วงโซ่อุทานของการปาล์มน้ำมันมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ในการบริโภคและใช้เป็นพลังงานทางเลือกต่าง ๆ อาทิ การผลิตน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัด
การศึกษาและวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า :
จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปและห่วงโซ่อุปทานของปาล์มน้ำมัน ทำให้เห็นว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีการเพาะปลูกจำนวนมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ ทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหาร (Food) และ ที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) จึงอาจะกล่าวได้ว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งด้านการบริโภคและอุปโภค โดยจากรายงานวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมัน” โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของปาล์มน้ำมันในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้เห็นว่า ผลปาล์ม ซึ่งเป็นแหล่งเก็บสะสมน้ำมันปาล์ม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การผลิตโอเลอีนทำอาหารในครัวเรือน หรือใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ที่ต้องมีการทอด เนยเทียม ไอศกรีม ขนมขบเคี้ยว และลูกกวาด ครีมเทียมประเภทต่าง ๆ สบู่และผงซักฟอกและอุตสาหกรรม โอเลโอเคมีคอล (Oleochemical) รวมถึง การผลิตเชื้อเพลิงเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ เป็นต้น
การใช้ประโยชน์ :
การใช้ประโยชน์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันของปาล์มน้ำมันที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ถึงรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มของปาล์มน้ำมันในแต่ละช่วงตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมปลายทาง ซึ่งข้อมูลรายละเอียดในห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าว จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการแปรรูปปาล์มน้ำมันของไทย ตลอดจนการวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มในแต่ละช่วงของอุตสาหกรรมการแปรรูปหรือความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ปลายทาง โดยในเบื้องต้น ได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องบางส่วนในห่วงโซ่มูลค่าของปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงของห่วงโซ่มูลค่า
เอกสารแนบ :