ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ

ห่วงโซ่คุณค่าของพืชที่สำคัญ


การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพืชเศรษฐกิจนำร่องสำคัญของไทย


ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) : สับปะรด


>
สับปะรด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas comosus (L.) โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศบราซิล ปารากวัย สับปะรดเป็นพืชในตระกูลพืชล้มลุก สับปะรดเป็นพืชที่ปลูกข้ามฤดูตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงระยะบังคับให้ออกดอกนาน 8-12 เดือน หลังจากนี้จะเก็บเกี่ยวได้รวม อายุประมาณ 12-14 เดือน สับปะรดชอบขึ้นในดินมีฤทธิ์เป็นกรด ลักษณะดินทรายร่วน จนถึงดินร่วนเหนียวและดินจะต้องมีหน้าดินลึก มีการระบายน้ำที่ดี สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ หรือแม้แต่พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำได้ส่วนใหญ่นิยมปลูกในประเทศเขตร้อน และอบอุ่น และยังถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในหลายประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2565 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้มีการจัดอันดับปริมาณการส่งออกของผลไม้เขตร้อนซึ่งพบว่าสับปะรดเป็นพืชที่มีปริมาณการส่งออกมากที่สุดในโลกโดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 40ของผลไม้เขตร้อนทั้งหมด โดยปัจจุบันปี 2564 มีการเพาะปลูกสับปะรดทั่วโลกเฉลี่ยประมาณ 6,487,000 ไร่ทั่วโลก โดยมีปริมาณการผผลิตโดยรวมออกสู่ตลาดทั่วประเทศอยู่ที่ 28,409,000 ล้านตันทั่วโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 4.44 โดยประเทศที่มีกำลังการผลิตมากที่สุด ได้แก่ คอสตาริกา ซึ่งมีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 2,938,000 ตัน รองลงมา คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บราซิล และจีน ตามลำดับ
ส่วนประกอบของสับปะรดสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างหลากหลายตั้งแต่ เนื้อสับปะรด จนถึงใบและลำต้นหลังเก็บเกี่ยวรวมไปถึงกากสับปะรดหลังจากกระบวนการแปรรูปสับปะรดนั้นยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมอาหารหยาบเพื่อเลี้ยงโคขุน หรือโคนมได้อีกด้วย ซึ่งแต่ละชนิดของผลิตภัณฑ์นั้นก็มีขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีในการผลิต และปริมาณความต้องการของตลาด เป็นต้น จากการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงของสับปะรด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีซึ่งใช้การผลิตสารสกัดต่าง ๆ จากสับปะรด เช่น เอนไซม์โบมิเลน กรดซิตริก เป็นต้น
โดยพบว่าสารสกัดเอนไซม์โบมิเลนนนั้นมีความต้องการของตลาดที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ • อุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Medical industry) • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food Supplementary Industry) • อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง • อุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) • อุตสาหกรรมเคมี (Chemical Industry) • อุตสาหกรรมสารเติมแต่งกลิ่น(Flavoring Industry) • อุตสาหกรรมฟอกหนัง (Tanning Industry) • อุตสาหกรรมสิ่งทอ (Textiles Industry) • อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (Animal Feed Industry) • อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio-plastic Industry) • อุตสาหกรรมกระดาษ (Paper Industry) • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel industry)