หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
Home
Bio Innovation Linkage
ARDA โชว์ฮับเกษตรสมุนไพร แหล่งแปรรูปเก๊กฮวย – คาโมมายล์ใหญ่ที่สุดในประเทศ
เนื้อเรื่อง :
ARDA โชว์ฮับเกษตรสมุนไพร แหล่งแปรรูปเก๊กฮวย – คาโมมายล์ใหญ่ที่สุดในประเทศสร้างนวัตกรรมยกระดับรายได้ 80,000 บาทต่อไร่ ภายใน 5 เดือนให้เกษตรกรพื้นที่สูง
เนื้อหา :
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (ARDA) ได้จัดแสดงความสำเร็จของศูนย์แปรรูปเก๊กฮวยและคาโมมายล์อบแห้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จ.เชียงราย โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยตั้งแต่ปี 2556 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สูงหันมาปลูกพืชสมุนไพรมูลค่าสูงแทนการปลูกฝิ่น ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการ ARDA กล่าวว่า โครงการพัฒนากระบวนการแปรรูปอบแห้งดอกคาโมมายล์และดอกเก๊กฮวยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีทางเลือกในการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงแทนการปลูกฝิ่น เพื่อลดปัญหายาเสพติดและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรกลุ่มเปราะบาง โครงการนี้ได้รับการดูแลโดย รศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้คัดเลือกคาโมมายล์และเก๊กฮวยมาใช้ทดแทนการปลูกฝิ่น จากการเริ่มต้นด้วยเกษตรกรเพียง 20 ครัวเรือนในพื้นที่ 3 ไร่ โครงการได้อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำเกษตรกรเข้าสู่ระบบการแปรรูปเก๊กฮวยที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ แต่ในช่วงแรกพบปัญหาการสูญเสียผลผลิตมากถึง 850 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนและสูญเสียโอกาสทางรายได้ จนกระทั่งในปี 2562 โครงการได้พัฒนาเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุนและโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อช่วยลดการสูญเสียผลผลิต จากนั้นโครงการได้ขยายผลไปยังพื้นที่หมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านแม่มะ บ้านเวียงแก้ว และบ้านดอยสะโงะ ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วม 853 ครัวเรือน บนพื้นที่กว่า 67 ไร่ สามารถผลิตและแปรรูปดอกเก๊กฮวยและดอกคาโมมายล์ได้ถึง 2-3 ตันต่อวัน โดยลดการสูญเสียผลผลิตได้มากกว่า 70% และทำให้ราคาผลผลิตสดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 80,000 บาทต่อไร่ต่อรอบการผลิต ผลผลิตจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะได้เชื่อมโยงกับมูลนิธิโครงการหลวงและบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น น้ำเก๊กฮวยและชาสมุนไพรต่าง ๆ พร้อมทั้งขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพและตลาดส่งออก ศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวว่า "ผมขอเป็นตัวแทนของเกษตรกรขอบคุณ ARDA ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ช่วยสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ที่สำคัญคือเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่าเส้นความยากจน จนสามารถมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 100,000 - 120,000 บาท" ดร.วิชาญ ผู้อำนวยการ ARDA กล่าวทิ้งท้ายว่า การสนับสนุนงานวิจัยนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายโครงการที่ ARDA ให้การสนับสนุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดระดับโลกอย่างยั่งยืน
แหล่งข้อมูล :
matichon
URL :
อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<