หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
Home
Bio Innovation Linkage
พลาสติกชนิดใหม่ ย่อยสลายในทะเลเร็วกว่ากระดาษถึง 4 เท่า
เนื้อเรื่อง :
วารสาร ACS Sustainable Chemistry & Engineering รายงานว่า โฟมที่มีส่วนประกอบของเซลลูโลสไดอะซิเตต (CDA) ซึ่งผลิตจากวัสดุ Aventa™ ของบริษัท Eastman (เมือง Kingsport, รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา) สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมทางทะเล ซึ่งพบว่าหลังจากแช่น้ำทะเลนาน 36 สัปดาห์ มวลหายไปประมาณร้อยละ 65-70 ย่อยสลายเร็วกว่ากระดาษ
เนื้อหา :
นักวิจัยสหรัฐฯ ค้นพบว่าเซลลูโลสไดอะซีเตท (Cellulose Diacetate หรือ CDA) ซึ่งเป็นไบโอพลาสติกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ไส้กรองบุหรี่ กรอบแว่นกันแดด และฟิล์มถ่ายรูป เป็นพลาสติกประเภทที่ย่อยสลายได้เร็วที่สุดในน้ำทะเล โดยย่อยสลายเร็วกว่ากระดาษ โดยนักวิจัยได้ดัดแปลง CDA ด้วยวิธีการที่เรียกว่าโฟมมิ่ง (Foaming) ซึ่งเป็นการทำให้ CDA เป็นรูพรุนขนาดเล็ก จากนั้นได้นำไปทดสอบในถังเก็บน้ำ ซึ่งจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมือนในทะเล เช่น การจำลองการไหลของน้ำ ควบคุมแสง อุณหภูมิ และตัวแปรอื่น ๆ ที่สำคัญ บรอัน เจมส์ (Bryan James) ผู้นำการวิจัยกล่าวว่า “การใช้ถังเก็บน้ำทะเลที่ไหลต่อเนื่อง ช่วยให้เราสามารถนำพลวัตของมหาสมุทรที่มีจุลินทรีย์เข้ามาในห้องทดลองได้ เราเติมจุลินทรีย์และสารอาหารเข้าไปถัง ทำให้การทดลองมีความสมจริงต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” เมื่อจำลองสภาพแวดล้อมแล้ว นักวิจัยได้นำหลอดที่สร้างจาก CDA แบบเป็นรูพรุนลงไปแช่ในน้ำเป็นระยะเวลา 36 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับพลาสติกชนิดอื่น ๆ เช่น CDA แบบแข็ง พลาสติกมาตรฐาน และกระดาษ ผลลัพธ์พบว่า CDA แบบมีรูพรุน ย่อยสลายเร็วที่สุด โดยสูญเสียมวลเดิมไปประมาณร้อยละ 65-70 จากนั้นนักวิจัยได้ทำการทดลองโดยการแช่หลอดเปรียบเทียบเฉพาะ CDA แบบเป็นรูพรุน และ CDA แบบแข็ง พบว่าหลอด CDA แบบเป็นรูพรุน มีอัตราการย่อยสลายเร็วกว่าหลอดแบบแข็งถึงร้อยละ 190 การค้นพบครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากหากมีการนำ CDA แบบเป็นรูพรุนมาใช้อย่างแพร่หลาย มันก็อาจช่วยลดปัญหาด้านขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลหลายล้านตันต่อปี ทั้งนี้นักวิจัยรายงานว่า CDA แบบเป็นรูพรุนนี้ ได้ถูกผลิตและเข้าสู่ตลาดแล้ว โดยบริษัทอีสต์แมน (Eastman) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไบโอพลาสติกในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลิตถาดพลาสติก CDA แบบเป็นรูพรุนสำหรับบรรจุอาหารแบบซื้อกลับบ้าน ถาดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และเมื่อเลิกใช้งานแล้วสามารถกลายเป็นปุ๋ยหมักได้
แหล่งข้อมูล :
bioplasticsmagazine
URL :
อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<