หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
Home
Bio Innovation Linkage
เปลี่ยนโมเลกุลคาร์บอนให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award
เนื้อเรื่อง :
Carbon Polymerizing System เป็นผลงานจากทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลคว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศของการแข่งขัน James Dyson Award ในปีนี้ โดยผลงานนี้คือระบบการผลิตพลาสติกชีวภาพจากคาร์บอนแบบอัตโนมัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากขยะอาหาร โดยทีมผู้คิดค้น Carbon Polymerizing System จะเป็นตัวแทนประแทนไทยพร้อมทีมรองชนะเลิศอีก 2 ทีมในการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป
เนื้อหา :
Carbon Polymerizing System หรือ ระบบการผลิตพลาสติกชีวภาพจากคาร์บอนแบบอัตโนมัติ จะดักจับโมเลกุลคาร์บอนเพื่อนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เรียกว่า PHB ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วไปจนถึงวัสดุทางการแพทย์ ระบบจะใช้แบคทีเรียเปลี่ยนคาร์บอนที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้ำเสียจากน้ำผลไม้ ชีวมวลผักและผลไม้ หรือแม้แต่ก๊าซเรือนกระจก ให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและปลอดภัยโดยใช้ระยะเวลาย่อยสลายในดินประมาณ 2 สัปดาห์ ต่างกับพลาสติกชนิดอื่นที่อาจใช้เวลาย่อยสลายในป่านานถึง 80 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดคาร์บอนที่เป็นอันตรายในอากาศ แต่ยังส่งผลให้วัสดุไม่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม ระบบจะทำงานอัตโนมัติโดยใช้ระบบควบคุมแบบเรียลไทม์ หรือ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสะอาด ด้วยการจัดการกระบวนการทั้งหมดด้วยการติดตามผลแบบเรียลไทม์ จะช่วยลดของเสียและมลพิษให้เหลือน้อยที่สุด ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการผลิตที่ยั่งยืน แนวทางนี้ไม่เพียงแค่ลดการปล่อยคาร์บอน แต่ยังกำจัดคาร์บอนจากบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อยออกมาอีกด้วย นักประดิษฐ์ทีมผู้ออกแบบ Carbon Polymerizing System ประกอบด้วยสุเมธ กล่อมจิตเจริญ , สหรัถ ชวฤาชัย และกัลยพัชร์ พลอยประดิษฐ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมองเห็นถึงปริมาณคาร์บอนจำนวนมากที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศผ่านกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทีมผู้ออกแบบจึงสร้างนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนขยะอาหารหรือแหล่งคาร์บอนอื่น ๆ ให้เป็นพลาสติกชีวภาพ ผลงานชื่อ NANO HEMP มีเป้าหมายที่จะจัดการกับความท้าทาย 2 ประการ ได้แก่ การจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมกัญชง และต้นทุนการผลิตที่สูงของท่อนาโนคาร์บอน (CNT) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในแบตเตอรี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ภูวดล เสงี่ยมมีเจริญ ผู้คิดออกแบบผลงานNANO HEMP กล่าวว่า การตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการสร้าง NANO HEMP ซึ่งจะใช้ขยะจากกัญชงโดยเฉพาะเศษแกนกัญชงที่มีคาร์บอนสูง เพื่อสร้างวิธีการที่ยั่งยืนและประหยัดต้นทุนในการสังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านการกักเก็บพลังงาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคอมโพสิตขั้นสูง นำไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม รางวัล รองชนะเลิศอันดับสอง ในผลงานชื่อ PlantPoxy มีที่มาจากแนวความคิดว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไปใช้สารเคมีที่รุนแรงซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม วัสดุและสารเคมีที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลพิษปริมาณมากซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ทีมผู้ออกแบบ ประกอบด้วย สุทธวิชญ์ บุตรนนท์ จิตาภา ม่วงศิริ ชลธกาญ ผลมะขามและฌานิทธิ์ พิทักษ์วงษ์ จึงได้คิดค้น PlantPoxy สารกำจัดแมลงชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำจากเชื้อราที่สลายตัวตามธรรมชาติเมื่อเวลาผ่านไป โดยไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตราย PlantPoxy ตั้งเป้าลดการพึ่งพาสารเคมีกำจัดแมลง ด้วยการสนับสนุนการใช้สารกำจัดแมลงชีวภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงช่วยปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ดิน น้ำ และอากาศสะอาดขึ้น สิ่งประดิษฐ์ทั้งสามชิ้นจะร่วมแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติของการแข่งขัน James Dyson Award โดยจะมีโอกาสได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,345,000 บาท ผลงานที่เข้ารอบ 20 อันดับแรกในระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 16 ตุลาคม และผู้ชนะระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 13 พฤศจิกายน โดยผู้ตัดสินคือ James Dyson James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติที่จะให้รางวัล สนับสนุน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับวิศวกรออกแบบรุ่นใหม่ โดยในปีนี้มีการดำเนินการใน 29 ประเทศ และสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 400 รายการ ด้วยเงินรางวัลกว่า 44 ล้านบาท ดำเนินการโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านการศึกษาด้านวิศวกรรมของ Sir James Dyson โจทย์ออกแบบสิ่งประดิษฐ์คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบต้องสามารถสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ ขั้นตอนการตัดสิน ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศ โดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป
แหล่งข้อมูล :
thaipost
URL :
อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<