ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ

พบ 2 พืชท้องถิ่นไทยช่วยลดไมโครพลาสติกในน้ำได้กว่า 90%

ผลการศึกษาชี้ว่า แหนแดง และ ผักตบชวา มีความสามารถในการดูดซับไมโครพลาสติกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 90% ภายในเวลาไม่นาน ถือเป็นแนวทางธรรมชาติในการฟื้นฟูคุณภาพน้ำอย่างยั่งยืน ที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยมีพืชทั้งสองชนิดนี้อยู่แล้วอย่างแพร่หลาย จึงเป็นโอกาสในการนำมาใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยต้นทุนต่ำและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ
งานวิจัยชี้! สารสกัดจาก "กระเจี๊ยบเขียว" และ "เมล็ดลูกซัด" กำจัดไมโครพลาสติกในน้ำได้ถึง 90% — ไทยมีครบ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tarleton State สหรัฐอเมริกา เผยผลวิจัยที่น่าทึ่งว่า กระเจี๊ยบเขียว และ เมล็ดลูกซัด สามารถดูดซับไมโครพลาสติกจากน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 90% งานวิจัยนี้เผยแพร่ในวารสาร ACS Omega ของสมาคมเคมีอเมริกัน โดยนักวิจัยนำพืชทั้งสองมาหั่น แช่น้ำ และทำแห้งเป็นผง เมื่อนำมาผสมกับน้ำที่ปนเปือนไมโครพลาสติก พบว่า ผงเมล็ดลูกซัดสามารถกำจัดไมโครพลาสติกได้ถึง 93% ภายใน 1 ชั่วโมง ผงกระเจี๊ยบเขียวกำจัดได้ 67% ในเวลาเดียวกัน หากใช้ร่วมกันในอัตราส่วนเท่ากัน จะลดได้ 70% ภายใน 30 นาที ทดลองในสภาพน้ำจริงก็พบประสิทธิภาพสูง เช่น ในน้ำทะเล ผงกระเจี๊ยบเขียวกำจัดได้ถึง 80% ส่วนผงลูกซัดสามารถลดปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำใต้ดินได้ถึง 90% งานวิจัยนี้เสนอทางเลือกใหม่แทนสารเคมีสังเคราะห์อย่างโพลีอะคริลาไมด์ ซึ่งแม้จะใช้ในโรงบำบัดน้ำทั่วไป แต่มีความเสี่ยงจากสารพิษตกค้าง ขณะที่สารสกัดจากพืชปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า สำหรับประเทศไทย ถือเป็นข่าวดี เพราะสามารถหาได้ทั้งกระเจี๊ยบเขียวซึ่งปลูกได้ทั่วไป และเมล็ดลูกซัดที่แม้จะไม่ใช่พืชพื้นเมือง แต่ก็หาซื้อได้ง่ายจากร้านสมุนไพรอินเดียหรือแหล่งสุขภาพ จึงมีโอกาสนำแนวทางนี้ไปใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียและไมโครพลาสติกอย่างยั่งยืนในอนาคต.
sanook