หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
ขมิ้น
ฟ้าทะลายโจร
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
Home
Bio Innovation Linkage
สวทช. โดยศูนย์โอมิกส์ฯ ขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพขั้นแนวหน้าอย่างเต็มพิกัด
เนื้อเรื่อง :
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ซึ่งดำเนินงานภายใต้การดูแลของไบโอเทค สวทช. ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านโอมิกส์ที่มีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย ด้วยขีดความสามารถที่ครอบคลุมทั้ง 4 สาขาหลักของโอมิกส์ ได้แก่ จีโนมิกส์ (Genomics), ทรานสคริปโตมิกส์ (Transcriptomics), โปรตีโอมิกส์ (Proteomics) และ เมตาโบโลมิกส์ (Metabolomics)ศูนย์ฯ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำองค์ความรู้ด้านโอมิกส์มาช่วยวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในภาคเกษตรกรรม การแพทย์ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศอย่างยั่งยืน
เนื้อหา :
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ โชว์ศักยภาพเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ขับเคลื่อนการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์จริง ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center) ดำเนินงานภายใต้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งอยู่ในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านโอมิกส์ที่ทันสมัยที่สุดของประเทศ เพื่อรองรับทั้งงานวิจัยพื้นฐานและการประยุกต์ใช้จริงในภาคส่วนต่าง ๆ เทคโนโลยีโอมิกส์ หรือ Omics เป็นศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลชีวภาพระดับโมเลกุลอย่างครอบคลุม โดยมาจากคำลงท้าย "-omics" ซึ่งหมายถึงการศึกษาองค์รวมของระบบชีวภาพในระดับต่าง ๆ ได้แก่ การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Genomics), การศึกษาการแสดงออกของยีน (Transcriptomics), การวิเคราะห์โปรตีนและการทำงานร่วมกันของโปรตีน (Proteomics) และการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสารเมตาบอไลต์ในระบบชีวภาพ (Metabolomics) เทคโนโลยีเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจกลไกทางชีววิทยาที่ซับซ้อน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนานวัตกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่น เกษตรกรรม การแพทย์ และสิ่งแวดล้อม ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง รองผู้อำนวยการไบโอเทค กล่าวว่า เทคโนโลยีโอมิกส์คือรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพยุคใหม่ เนื่องจากช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ช่วยให้ภาควิจัยและอุตสาหกรรมสามารถตอบสนองต่อปัญหาเร่งด่วนและโอกาสทางนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดร.วิรัลดา ภูตะคาม ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ เสริมว่า ภารกิจของศูนย์มุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาด้านโอมิกส์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลชีวภาพด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้งานวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ปะการังในน่านน้ำไทย ผ่านการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการัง เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้ในการเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และใช้วางแผนฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน อีกหนึ่งผลงานเด่นคือการพัฒนาเทคโนโลยีลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) สำหรับระบุตัวตนของเสือโคร่งในกรงเลี้ยง ซึ่งช่วยสนับสนุนการปราบปรามอาชญากรรมสัตว์ป่า และปกป้องสัตว์ป่าหายากจากการลักลอบค้าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย ในด้านการเกษตร ศูนย์ฯ ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยด้วยการพัฒนาชุดตรวจ HybridSure ซึ่งใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอในการทดสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสม เช่น ข้าวโพด แตงโม พริก และมะเขือเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพสูงก่อนวางจำหน่ายหรือส่งออก นอกจากนี้ยังมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พืชป่าชายเลน การศึกษาพืชที่สามารถดูดซับฝุ่น PM 2.5 ได้ดี การพัฒนาชุดตรวจแบบพกพาเพื่อหาสีต้องห้ามในทุเรียน ไปจนถึงการตรวจวัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในพืชสมุนไพรอย่างแม่นยำด้วยเทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์ และการพัฒนาอาหารมูลค่าสูงจากการวิเคราะห์โปรตีนด้วยเทคโนโลยีโปรตีโอมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติยังมีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านการวิเคราะห์และการใช้งานเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดยมีบริการครอบคลุมทั้งการถอดรหัสพันธุกรรม การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรม การวิเคราะห์การแสดงออกของยีน การระบุและวิเคราะห์โปรตีน รวมถึงการวิเคราะห์เมตาโบไลต์แบบเฉพาะเป้าหมายหรือแบบครอบคลุม อีกทั้งยังมีการให้บริการเครื่องมือขั้นสูง เช่น เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมแบบดิจิทัล เครื่องวิเคราะห์โปรตีน เครื่องสังเคราะห์เปปไทด์ เครื่องวิเคราะห์ลำดับเบส ฯลฯ พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาและสนับสนุนการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยศักยภาพและบทบาทที่หลากหลาย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง โดยมุ่งหวังให้เทคโนโลยีโอมิกส์กลายเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แหล่งข้อมูล :
bangkokbiznews
URL :
อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<