หน้าหลัก
บริการข้อมูล
นำเข้าส่ง - ส่งออก
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
ห้องปฏิบัติการ
กฎ ระเบียบ มาตรการและนโยบาย
กฎ ระเบียบ
นโยบาย มาตรการ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ
บทวิเคราะห์
Value Chain
อ้อย
มันสำปะหลัง
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
ข้าวโพด
กัญชาและกัญชง
สับปะรด
กาแฟ
โกโก้
Supply Chain
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
พอลิแลคติคแอซิด (PLA)
TPS
พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs)
พอลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate Terephthalate หรือ เรียกโดยย่อว่า PBAT)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ
กรดอะมิโน
กรดอินทรีย์
เอนไซม์ (Enzyme)
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์
วัคซีน
Monoclonal Antibody
Recombinant Hormones
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บทวิเคราะห์เชิงลึก
บทวิเคราะห์เชิงลึกเรื่อง การศึกษายุทธศาสตร์
บทวิเคราะห์เชิงลึก “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน”
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีความต้องการสูงในตลาดเอเชียและการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สอดรับกับความต้องการของตลาด
บทวิเคราะห์เชิงลึก การศึกษาข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้บรรลุตามเป้าหมาย ‘Net Zero’
บทวิเคราะห์เชิงลึกการเจาะตลาดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพสู่การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศมุสลิมในอาเซียน
Green Tax Expense Approval Report
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย
Home
ห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย
read
ห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) :
Monoclonal Antibody
>
การศึกษาข้อมูลทั่วไป :
โมโนโคลนอลแอนติบอดี้ (mAbs) เป็นโปรตีนที่สามารถเป็นชีววัตถุเพื่อการรักษาโรคได้ เนื่องจากความสามารถในการจำเพาะต่อตำแหน่งเนื้อเยื่อที่ศึกษา โครงสร้างของโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ มีลักษณะเป็นแบบเฮทเทอโรจีนัส โดยรูปแบบการทำงานของโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ มีความคล้ายคลึงกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นระบบที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจน (Antigen) สามารถจดจำและเข้าทำลายสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวได้อย่างแม่นยำ ด้วยเหตุนี้ ทางการแพทย์จึงได้อาศัยหลักการดังกล่าวมาผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ เพื่อใช้ในการรักษาโรค
การศึกษาและวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า :
จากข้อมูลทั่วไปของโมโนโคลนอลแอนติบอดี รวมถึงกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า โมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นชีวเภสัชภัณฑ์ที่ต้องอาศัยการศึกษาทดลองตามกระบวนการในการผลิตยา โดยจะต้องมีขั้นตอนของการทดลองทั้งในขั้นตอนของการผลิต และการออกฤทธิ์ของยาในสัตว์ทดลองและ/หรือในมนุษย์ โดยจากการศึกษาข้อมูล Supply chain ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิต Monoclonal- Antibody พบว่าประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ 1. ขั้นตอนการการวางแนวทางในการพัฒนา (Research and Development Phase) โดยจะต้องมีการศึกษาและกำหนดกลุ่มโรคเป้าหมายที่จะดำเนินการผลิต Monoclonal Antibody การออกแบบและกำหนดขั้นตอนการทดลอง รวมถึงการศึกษาและวิจัยเบื้องต้น โดยหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในส่วนนี้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยและพัฒนา รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้กับผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนที่สำคัญคือ - ขั้นก่อนการศึกษาทางคลินิก (Preclinical phase) โดยเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง ไม่ใช่ในคน เช่น หนู กระต่าย หมู มักเป็นการศึกษาทางยา เพื่อดูถึงพิษของยา ร่วมถึงประสิทธิผลทางการรักษาในสิ่งมีชีวิต - ขั้นตอนการวิจัยในคน (Clinical Trial) เป็นกระบวนการที่นักวิจัยจะเอายาที่ผ่านการทดลองในหลอดทดลอง และในสัตว์ จนมีข้อมูลความปลอดภัยมาแล้วในระดับหนึ่ง มาทดลองให้คนได้ใช้ เพื่อที่จะทำให้เรามีข้อมูลความปลอดภัยในคนและประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรค โดยการวิจัยในคนจะทำที่โรงพยาบาล และมีทีมแพทย์, พยาบาล, เภสัชกร, และผู้ประสานงาน ช่วยกันดูแลอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยในคน ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในคน จะต้องผ่านการอบรม “การปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice: GCP)” เพื่อเป็นการรับรองว่าจะปฏิบัติกับอาสาสมัครอย่างมีจริยธรรมและ ให้ความสำคัญกับ สิทธิ, ความปลอดภัย, และความเป็นอยู่ของอาสาสมัครมากกว่าผลของการศึกษาวิจัย 2. ขั้นตอนการผลิต (Production Phase) หลังจากผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนแรกแล้ว จะได้มีการขยายผลในการผลิตในระดับอุตสาหกรรม (Industrial scale production) โดยจะต้องมีการผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพและห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐานอย่างถูกต้อง โดยในขั้นตอนของการผลิต จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ 3. ขั้นตอนการทำการตลาดและกระจายสินค้า (Commercialization Phase) โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การทำการตลาด การขนส่งที่มีการควบคุมและรักษาคุณภาพของยา การกระจายสินค้า รวมถึงการใช้ยากับผู้ป่วยจริง นอกจากนี้ จะต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลการใช้เภสัชภัณฑ์ในผู้ป่วย เพื่อวิเคราะผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อวางแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาเภสัชภัณฑ์ในระยะต่อไป
เอกสารแนบ :